01 02 03 04 05 06 51591a0d2 51591a35b 51591bcd3 51591c3a4 51591c3da 51591c34f 51591c434 51591cb90 51591d211 51591e8a5 51591e83b 51591ea90 515910ba2 515911c76 5159103b5 5159125af 5159145eb 515915532 515919358 515919624 jquery lightbox autoplayby VisualLightBox.com v6.1
วัดนี้สร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2310(ก็ปีที่เสียกรุงครั้งที่2นั่นแหละ)เดิมมีชื่อว่า“วัดลาดจอมขวัญ”วัดแห่งนี้ต่อมาได้เป็นสถานที่ขบวนกองทหารและขบวนช้างศึกของกองทัพสยามที่จะยกขึ้นไปทางเหนือหรือลงมาหลังการศึกมาพักทัพที่นี่ด้วยมีทำเลเหมาะสมดีติดแม่น้ำน่านสามารถนำช้าง
และทหารขึ้นลงอาบน้ำได้สะดวกและเป็นที่ทำขวัญช้างศึกของทัพเมืองสยามเมื่อหมดศึกสงครามแล้วชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดเปลี่ยนไปเป็น “วัดราชช้างขวัญ”
วัดราชช้างขวัญ มีอุโบสถหลังเก่าแก่ของวัด เป็นอุโบสถที่สร้างต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2310สมัยที่หลวงพ่อแจ่ม ที่เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด สร้างด้วยไม้หลังคามุงแฝก ฝาไม้ ใช้อิฐเรียงเป็นพื้นเมื่อพังลงก็ก่อสร้างทับใหม่คร่อมที่เดิมมาตลอด กระทั่งมาเป็นอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นมา
เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ ปี พ.ศ.2459เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2461 โดยมีหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร)วัดคลองมะขามเฒ่า จ. ชัยนาท มาช่วยหาปัจจัยสร้างอุโบสถด้วย
จากบันทึกที่พอค้นได้ในปีพ.ศ.2459ที่สร้างพระอุโบสถหลังนี้คงเป็นเจ้าอาวาสที่ครองวัด(ไม่มีบันทึกชื่อไว้)สร้างร่วมกับหลวงปู่ศุขและชาวบ้านเท่านั้น แต่ที่เป็นที่น่าสังเกต หลวงปู่ศุข ท่านได้มีส่วนร่วมบูรณะหลายวัดรวมถึง “ วัดท่าฬ่อ”ที่อยู่ห่างจากวัดราชช้างขวัญ
ไปประมาณ8กม.ด้วยในช่วงเวลาดังกล่าวเชื่อได้ว่าการสร้างพระอุโบสถของวัดราชช้างขวัญและวัดท่าฬ่อจะต้องมีความสัมพันธุ์ในการสร้างสอดคล้องด้วยกัน
เจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อในสมัยนั้นซึ่งก็น่าจะเป็นหลวงปู่ภู(ครองอยู่วัดท่าฬ่อตั้งแต่ปีพ.ศ.2437)ชอบทำการก่อสร้างเพื่อเป็นประโยชน์ในพระพุทธศาสนา มีวิชาความรู้ทางด้านวิปัสสนา ธรรมวินัย การช่างไม้ช่างทอง การแสดง ความรู้ทางเวชศาสตร์ และไสยศาสตร์
อีกด้วยปี พ.ศ.2455 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจราชการ คณะสงฆ์ในมณฑลภาคเหนือได้ทรงมาประทับแรมที่ วัดท่าฬ่อ 1 ราตรี เห็นว่าวัดท่าฬ่อมีสิ่งก่อสร้างเช่น โบสถ์ กุฎิ หอสวดมนต์ พระเจดีย์ศาลาการเปรียญ และธรรมาศน์ มีความเจริญรุ่งเรืองจากการสร้างของหลวงปู่ภูจึงได้ขอพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นที่พระครูธุรศักดิ์ เกียรติคุณ
ปี พ.ศ.2459 ที่มีการสร้างพระอุโบสถวัดราชช้างขวัญ น่าจะมาจากการก่อสร้างร่วมจากหลวงปู่ภูด้วยเพราะจะตรงกับการการบูรณะวัดท่าฬ่อ หากสร้างโดยวัดราชช้างขวัญเองหรือวัดติดต่อขอให้หลวงปู่ศุข(วัดมะขามเฒ่า)มาร่วมสร้างก็คงไม่สมเหตุสมผล แต่ถ้าเป็นหลวงปู่ภูน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าด้วยเหตุผลที่เป็นคนที่รู้จักของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสและหลวงปู่ภูเป็นพระที่มีสมณศักดิ์และมีชื่อเสียงในตอนนั้น:หลวงปู่ศุข มีอาวุโสสูงกว่าหลวงปู่ภู 7 ปี
(เกิดพ.ศ.2390มรณภาพพ.ศ.2466สิริอายุ76ปี)มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองพิจิตรคือหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน(ชื่อใหม่วัดหิรัญญาราม)ก็ยังมีชีวิตอยู่หลวงพ่อเงินจะเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์กับหลวงปู่ภู (ศิษย์หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า มรณภาพปีพ.ศ.2440)แต่หลวงพ่อเงินก็ไม่น่าจะมาร่วมสร้างวัดนี้เพราะขณะนั้นหลวงพ่อเงิน อายุมากถึง100กว่าปีแล้ว(หลวงพ่อเงินมรณภาพ ปีพ.ศ.2462 อายุ111ปี)